ผมเขียนบทความนี้เพื่ออ้างถึงประสบการณ์ทำงานร่วมกับ Health Link ที่ได้พัฒนาและดูแลโดย Big Data Institute ในช่วงเวลาที่ผมได้ทำงานอยู่ในตำแหน่ง Business Analyst โดยอยากแนะนำและยกตัวอย่างการและเปลี่ยข้อมูลสุขภาพที่ประเทศไทยได้สร้าง และต่างประเทศที่มีการใช้งาน
First Draft: 23 November 2022
First Online Public : 13 June 2024
Health Link
ระบบเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ หรือ Health Information Exchange (HIE) เป็นแนวคิดที่มีมานานและได้มีการนำไปใช้จริงในหลายประเทศทั่วโลก ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างโรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆ ที่ใช้ระบบสารสนเทศ (Hospital Information System หรือ HIS) ซึ่งทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเทศไทย ระบบ Health Link ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพนี้ โดยเฉพาะการให้แพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการได้
การทำระบบ HIE ในระดับประเทศมีความซับซ้อนมากกว่าการทำ HIE เฉพาะกลุ่ม เนื่องจากโรงพยาบาลแต่ละแห่งใช้ระบบ HIS ที่แตกต่างกันและมีมาตรฐานข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การพัฒนาระบบ HIE ในระดับประเทศจำเป็นต้องมีการตกลงมาตรฐานที่ทุกฝ่ายยอมรับและการแปลงข้อมูลให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้สามารถส่งและรับข้อมูลได้อย่างราบรื่น ระบบ Health Link จึงได้ถูกพัฒนาโดยใช้มาตรฐาน Fast Healthcare Interoperability Resources (FHIR) จากองค์กร Health Level Seven (HL7) International ซึ่งเป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพที่ได้รับการยอมรับและใช้งานทั่วโลก โดยมาตรฐานนี้ทำให้การพัฒนาและการใช้งานระบบมีความง่ายและเข้ากันได้กับหลากหลายอุปกรณ์และแอปพลิเคชัน
โดยกลุ่มผู้ใช้งานแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1 ผู้ป่วย หรือประชาชนทั่วไปผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลสุขภาพของตนเอง
2 แพทย์ ผู้ให้การรักษา หรือผู้ที่ต้องใช้ข้อมูลประกอบการรักษา
3 สถานพยาบาล ผู้ที่คอยกำหนดบทบาทของแพทย์ให้เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้
4 แพทยสภา ผู้ที่ตรวจสอบสถานะของแพทย์ ยืนยันตัวตนเพื่อตรวจสอบแพทย์มีสิทธิ์การเข้าสู่ระบบหรือไม่
สำหรับบทความนี้ต้องการสำเสนอตัวอย่างในต่างประเทศของระบบ Health Information Exchange ตัวอย่างในต่างประเทศ ศึกษาการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในต่างประเทศ ได้แก่ ระบบ My Health Record ของออสเตรเลีย, ระบบ NHS Spine ของสหราชอาณาจักร และระบบ Electronic Patient Record ของสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับแผนการพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในประเทศไทย
1. ระบบ My Health record (MHR) จากประเทศออสเตรเลีย
รัฐบาลกลางออสเตรเลียได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสุขภาพในช่วงปี 2012 ถึง 2016 ประมาณ 1.15 พันล้านดอลล่า[1] ออสเตรเลีย และในปี 2017 ถึง 2018 ได้รับงบประมาณอีก 374 ล้านดอลล่า เพื่อทำการตลาด ปัจจุบันมีข้อมูลประชาชนชาวออสเตรเลียอยู่ร้อยละ 97 ประเทศ Australia ได้ก่อตั้งหน่วยงาน The Australian Digital Health Agency ในปี 2016 รู้จักกันในนาม Digital Health[2] เป็นผู้ดูแลระบบ My Health Record[3] ที่ทำเรื่องใบสั่งยา ระบบส่งต่อผู้ป่วย และโครงการ eHealth อื่น ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัลแห่งชาติ(ประเทศออสเตรเลีย) หน่วยงานนี้เคยถูกเรียกว่าหน่วยงานเปลี่ยนผ่านสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ
My Health Record (MHR) คือฐานข้อมูลสาธารณะสุขแห่งชาติ(ประเทศออสเตรเลีย) ถูกสร้างมาเพื่อเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระบบสาธารณะสุขแก่ทุกภาคส่วนของประเทศ แบ่งได้เป็นหลักๆ 2 ประเภท คือประชาชนทั่วไป และผู้ให้บริการสาธารณะสุขเช่นสถานพยาบาล ร้านขายยา และอื่น ๆ โดยบริการสามารถเข้าใช้งานผ่าน national ID ที่ชื่อว่า MyGov ซึ่งเป็น Digital ID ของภาครัฐ ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นส่วนตัวได้มากยิ่งขึ้น
ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท
- เอกสารทางคลินิก เป็นข้อมูลที่สร้างจาก แพทย์ พยาธิแพทย์ และเภสัชกร บันทึกหรืออัปโหลดข้อมูลการรักษา การจ่ายยา การวินิจฉัย การส่งตัว ภูมิคุ้มกัน ผลการรักษา บันทึกข้อมูลการรักษา รายงานการรักษาเข้าไปในระบบ เพื่อแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน
- เอกสารข้อมูลทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับบริการภาครัฐ การเรียกร้องสิทธิการรักษา การลงทะเบียนสร้างภูมิคุ้มกันแห่งออสเตรเลีย ข้อมูลผู้บริจาคอวัยวะ
- ข้อมูลส่วนตัว เพื่อประกอบการรักษาในกรณีฉุกเฉิน ที่อยู่และการติดต่อ ยาแผนปัจจุบัน ข้อมูลการแพ้(รวมถึงปฏิกิริยาต่อการรักษาก่อนหน้า) บันทึกสุขภาพ สถานะทางทหาร ภาษาที่ต้องการรับการรักษา ข้อมูลการรักษาของบุตรหลานในการปกครอง
- ข้อมูลเกี่ยวกับ Covid-19 ตรวจสอบการรับวัคซีน ใบรับรองวัคซีน ผลและประวัติการตรวจหาเชื้อ
โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติการรักษา และข้อมูลสุขภาพของตนเองได้ผ่านแอปพลิเคชัน 2 ตัวได้แก่ Healthdirect และ Healthnow แล้วลงชื่อเข้าใช้งานด้วย MyGov จะสามรถเข้าไปแก้ไขสิทธิ์ และข้อมูลสุขภาพ
Australian Digital Health Agency ได้ออกเอกสาร Implementation of the My Health Record System [4] เป็นเอกสารที่อธิบายการทำงานของ MHR และการตรวจสอบการทำงานในช่วงปี 2019-2020
การเข้าถึงข้อมูลของระบบ MHR จะสามารถเข้าถึงโดยบุคคลดังต่อไปนี้
- ผู้รับการรักษา
- ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ
- ตัวแทนที่ได้รับการเสนอชื่อ ซึ่งถูกเลือกมาจากผู้ได้รับการรักษา
- ตัวแทนที่ได้รับอนุญาต สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้
บอกจากบริการภาคประชาชนแล้ว MHR ยังให้บริการถึงผู้ให้บริการทางสาธารสุขต่างอีกด้วย เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลไปใช้ในบริการประชาชนให้ดียิ่งขึ้นดังนี้
- การจ่ายยาออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนชาวออสเตรเลียสามารถเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น และลดการเข้าไปขอคำแนะนำยัง สถานพยาบาล ก็สามารถได้รับใบจ่ายยาสามารถนำไปใช้กับร้านขายยาได้สะดวกสบาย และตัวผู้รับการรักษาไม่จำเป็นต้องจดจำหรือเรียนรู้เรื่องยาเป็นพิเศษ เพียงนำใบจ่ายยาไปใช้งานที่ร้านขายยา
- การรักษาทางไกล (Telehealth) การให้คำปรึกษาทางไกลผ่านการพูดคุยโทรคมนาคมทดแทนการพบปะต่อหน้าแพทย์ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วง Covid-19 โดยมีรายละเอียดย่อยดังนี้
- การติดตามผลการรักษาทางไกล โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาให้ข้อมูลการรักษายังสถานพยาบาล
- การบันทึกส่งต่อข้อมูล ระหว่างหน่วยงการรักษา
- การให้คำปรึกษา เชื่อมต่อกับผู้ป่วย และผู้ให้บริการทางแพทย์ผ่านทางเสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
- เชื่อมโยงผู้ให้บริการในออสเตรเลีย สร้างระบบนิเวศน์เรื่องสุขภาพรวมกันไว้ที่เดียว ให้ทุกบริการและผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงและเปลี่ยนกันได้รวดเร็วและเป็นมาตราฐานเดียวกัน เพื่อส่งเสริมการนำไปใช้ และพัฒนาเศรษฐกิจด้านสาธารณะสุข
เพื่อให้การบันทึกส่งต่อ และใช้งานข้อมูลด้านสุขภาพเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ทาง The Australian Digital Health Agency ได้ลงนาม MoU[5] ร่วมกันกับ HL7 เพื่อดูแลสนับสนุนการพัฒนามาตรฐาน และข้อกำหนดด้านสุขภาพดิจิทัล เพื่อช่วยปรับปรุงการเชื่อมต่อทั่วทั้งระบบการรักษาพยาบาลแห่งชาติ CEO Amanda Cattermole กล่าวว่า “มาตรฐานด้านสุขภาพดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลด้านสุขภาพของผู้บริโภคอย่างปลอดภัย ปลอดภัย และไร้รอยต่อระหว่างผู้ให้บริการด้านสุขภาพต่างๆ”
ตัวเลขที่สำคัญ รายงานเดือนกันยายน 2565 [6] บันทึกข้อมูลไว้ว่า
- จัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน 23.4 ล้านคน คิดเป็น 97% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- จัดเก็บเอกสารมากกว่า 757 ล้านฉบับ
- เอกสารทางคลินิกที่มาจากสถานพยาบาล 310 ล้านฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 73%
- เอกสารจากผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข เช่น ร้านขายยา 446 ล้านฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 54%
- ประชาชนส่งผล 4.5 แสนฉบับ
- มีคนลงทะเบียนใช้งานแล้ว 233,000 คน
- ประชาชนเข้าใช้งานเดือนละ 13,000 คน
- 99% ของเภสัชกรสมัคร, 99% ของเภสัชกรใช้งานแ
- 99% ของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปสมัคร, 99% ของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปใช้งาน
- 97% ของโรงพยาบาลรัฐเข้าร่วม, 95% ของโรงพยาบาลรัฐใช้งาน
- 27% ของแพทย์เฉพาะทางสมัคร, 12% ของแพทย์เฉพาะทางใช้งาน
2. ระบบ NSH Spine จากสหราชอาณาจักร
National Health Service (NHS) ได้ก่อนตั้ง NHS Digital ขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่อง สารสนเทศ ข้อมูล ระบบเทคโนโลยี การวิเคราะห์ ในระบบสาธารณสุขและสังคมส่งเคราะห์ของประเทศอังกฤษ ในปี 2013 NHS England ไฟเขียนอนุมัติงบประมาณ 260 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง[7] ให้แพทย์ และพยาบาลมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ดีมากยิ่งขึ้น กองทุนนี้จะมีให้สำหรับผู้ให้บริการ NHS เพื่อสนับสนุนการย้ายจากระบบกระดาษสำหรับบันทึกผู้ป่วยและใบสั่งยาไปสู่บันทึกการดูแลทางอิเล็กทรอนิกส์แบบบูรณาการ และการพัฒนาระบบ e-prescribing และ e-referral เพื่อแบ่งปันข้อมูลกันอย่างปลอดภัยระหว่างส่วนต่างๆ ของ NHS จึงมีการพัฒนาระบบที่ชื่อว่า Spine[8] ขึ้นมาเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของ NHS ทั้งหมดที่เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั่วถึงกันทั้งหมด ปรับใช้กับบริการต่างๆเช่น ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ บันทึกการรักษาฉบับย่อ บริการส่งต่อผู้ป่วย และเปิดช่องทางการสื่อสาร API ให้กับผู้ให้บริการสาธารณะสุขภายนอกเข้ามาใช้งานร่วมกันได้
Spine เป็น Platform กลางที่พัฒนาขึ้นมาเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้บริการด้านสาธารณะสุข ส่งต่อข้อมูลถึงกัน และส่งข้อมูลถึงผู้รับการรักษา โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ผ่าน NHS App หรือช่องทางบริการภาครัฐได้ทั้งสิ้น แต่ผู้ใช้งานในส่วนของผู้ให้บริการจำเป็นจะต้องสร้างระบบนิเวศน์คอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ การรับ-ส่งข้อมูลกับ Spine ที่เรียกว่า NHS Digital WES[9] พร้อมทั้งยังออกมาตรฐานข้อมูลที่ชื่อว่า NHS Digital FHIR Implementation Guide [10] กำหนดถึงมาตราฐานการเรียกดู บันทึก เข้าถึงข้อมูล FHIR ซึ่งเป็นมาตรฐาน HL7 FHIR [11]
NHS ยังมีบริการส่งเสริมให้องค์กรต่าง ๆ สามารถติดตั้งและเชื่อมต่อข้อมูลกับ NHS ให้ได้ในโครงการ GP Connect[12] เพื่อให้องค์กรด้านสาธารณะสุขทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ได้ทั้งการอ่านอย่างเดียวผ่าน HTML หรือเว็บไซต์โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการทางคลินิก และการนำเข้าหรือประมวลผลข้อมูลของผู้ป่วยได้ซึ่งระบบมีการดูแลรักษาความปลอดภัยให้เรียบร้อย โดยมีเงื่อนไขว่าต้องใช้ในการดำเนินการดูแลรักษาผู้ป่วยโดยตรง และอยู่ในการกำกับดูแลตามมาตราฐานความปลอดภัยทางคลินิก
มีองค์กรมากมายที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลเพื่อเรียกดู นัดหมายให้ผู้ป่วย หรือส่งสรุปการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ระบบที่ใช้ในการเรียกดูหรืออ่านข้อมูลเรียกว่า Consumer และระบบที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเรียกว่า Sender ซึ่งถูกพัฒนาให้สามารถนำไปติดตั้งหรือใช้งานได้ทันที่เพียงดำเนินการตามคำแนะนำของระบบ หรือติดต่อกับ NHS เพื่อให้คำแนะนำ ตัวอย่างองค์กรที่มีการเชื่อมต่อ บ้านพักรับรอง สถานสงเคราะห์ บ้านพักคนชรา รถพยาบาล ศูนย์รับผู้ป่วยฉุกเฉิน ร้านขายยา ทันตกรรม นักทัศนมาตรร้านสายตา สุขภาพจิตไว้วางใจ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ
ในปัจจุบันเปิดให้แบ่งปันข้อมูล เพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
- ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้กระบวนการสั่งจ่ายยาและการจ่ายยามีประสิทธิภาพและสะดวกยิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ และลดเวลาที่ใช้ในการมายังสถานพยาบาลเพื่อรับใบสั่งยา
- บันทึกสรุปการรักษา (SCR) ที่สร้างโดยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป สามารถใช้งานได้โดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอนุญาตในพื้นที่อื่นๆของระบบสาธารณสุข และการดูแลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยโดยตรง
- การเลือกพบแพทย์ นัดหมาย กับผู้เชี่ยวชาญ หรือการผ่าตัด ในกรณีที่ต้องส่งต่อผู้ป่วย
- การคุ้มครองเด็ก บริการแบ่งปันข้อมูลช่วยให้เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์สามารถแบ่งปันข้อมูลได้อย่างปลอดภัย เพื่อปกป้องเด็กที่เปราะบางในสังคมได้ดียิ่งขึ้น
ตัวเลขที่สำคัญ รายงาน 5 สิงหาคม 2562 [13] บันทึกข้อมูลไว้ว่า
- NSH Spine มีการส่งข้อมูล 3,500 ข้อความต่อวินาที และมีข้อความต่อวันสูงถึง 47 ล้านข้อความ
- มีระบบเชื่อมต่อ 28,000 ระบบจาก 21,000 องค์กร
- ข้อมูลสรุปการรักษา ด้านสุขภาพ 65 ล้านรายการดูแลอย่างปลอดภัย
- บันทึกข้อมูลประชากรมากกว่า 90 ล้านรายการ และส่งต่อระหว่างกัน 750,000 ข้อความอย่างปลอดภัย
- จ่ายใบสั่งยา 2 ล้านรายการต่อวัน
- มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาใช้งาน NSH Spine 500,000 คนต่อวัน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหมายถึงแพทย์สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเกี่ยวกับการรักษาที่เหมาะสม
- แพทย์สามาถส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และเภสัชกรสามารถสั่งจ่ายยาได้อย่างถูกต้องสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้
- แพทย์สามารถเข้าช่วยเหลือผู้ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือมากที่สุดก่อนได้
3. ระบบ Electronic Patient Record (EPR) จากประเทศสวิซเซอร์แลนด์
ข้อมูลสุขภาพของคุณพร้อมใช้ทางออนไลน์แล้ว คำประกาศของระบบ Electronic Patient Record (EPR)[14] ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปจัดการและแบ่งปันข้อมูลนี้ให้กับผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลคุณใช้งานได้ ด้วยความสามารถในการเข้าถึงเอกสาร จัดการสิทธิ์ และการเข้าถึงข้อมูลยามฉุกเฉิน ส่งผลให้ระบบ EPR กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการแบ่งปันข้อมูลด้านสุขภาพของประเทศสวิซเซอร์แลนด์ เนื่องจากก่อนหน้านี้ประเทศสวิซเซอร์แลนด์นั้นมีความแตกต่างของผู้คนมากเนื่องจากมีประชาชนอยู่ถึง 4 วัฒนธรรม เยอรมัน, ฝรั่งเศส, อิตาลี่ และ รูมันซ์ มีความแตกต่างทั้งภาษา วัฒนธรรมธรรม มี 26 มณฑล, 26 กฎหมาย และ 26 รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุข[15] ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างกัน จนรัฐบาลกลางสมาพันธรัฐต้องเข้ามากำกับดูแลในการวางกลยุทธ์สร้างระบบ eHealth ขึ้นมา
ทางรัฐบาลกลาง สมาพันธรัฐสวิสได้ออกกฎหมายขึ้นมาหนึ่งฉบับว่าด้วยเรื่องการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ Federal Act on the Electronic Patient Record / Botschaft zum Bundesgesetz über das elektronische Patientendossier (EPRA)[16] ผ่านรัฐสภาในปี 2556 ประกาศบังคับใช้กลางปี 2560 โดยมีจุดประสงค์หลัก[17] ดังนี้ พัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล, เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบำบัด, ปรับปรุงความปลอดภัยของผู้ป่วย, เพิ่มประสิทธิภาพระบบสุขภาพ และส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วย ให้มีการดำเนินการและสนับสนุนดังต่อไปนี้ สิทธิการเข้าถึงสำหรับบุคลากรทางการแพทย์, การเข้าถึงเอกสารทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉิน, วิธีระบุผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ใน EPR, โครงสร้างของ ‘ชุมชนหลัก’ และ ‘ชุมชน’ และความช่วยเหลือทางการเงินจากสมาพันธ์ จัดสรรงบประมาณให้ 30 ล้านฟรังสวิซ[18] เพื่อสร้างระบบที่สามารถควบคุมการเข้าถึง เป็นศูนย์กลางที่ได้รับการยอมรับ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างชาติขึ้นมา
ระบบ EPR ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้แพทย์มีข้อมูลสำคัญสำหรับการรักษาพยาบาลในการฉุกเฉิน สามารถรักษาได้ตรงจุด และลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการขาดข้อมูลการรักษา ให้กับสถานพยาบาลทั่วประเทศ สามารถมาแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยได้ผ่านตัวกลางที่เป็นที่ยอมรับจากทุกคนด้วยมากตราฐานการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ HL7 FHIR[19]
ทั้งนี้ EPR ยังต้องปฏิบัติรักษาความปลอดภัยอย่างดีที่สุด เพื่อป้องกันการล้มของระบบ และการหลุดของข้อมูล ดังนั้นระบบ EPR ต้องปฏิบัติตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทุกขั้นตอน[20] รักษาความเป็นส่วนตัว, การส่งข้อมูลที่ปลอดภัย, เก็บรักษาข้อมูลในอยู่ในประเทศสวิซเซอร์แลนด์, ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างระเอียดทุกขั้นตอน, ระบบพัฒนาโดยมีใบรับรอง, การระบุตัวตนที่ปลอดภัย, ยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ และยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขประจำตัวผู้ป่วยได้
ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานได้ผ่านการสมัครบริการและรับรหัสเข้าใช้งานรายครั้งผ่าน SMS หรือสร้างหมายเลขประจำตัวผู้ป่วยใหม่จากสำนักงานสวัสดีการสมาพันธรัฐ Zentralen Ausgleichsstelle des Bundes (ZAS)
บริการต่าง ๆ ที่มีในระบบ EPR [21]
อ้า
[1] https://www.anao.gov.au/work/performance-audit/implementation-the-my-health-record-system
[2] https://www.digitalhealth.gov.au/about-us
[3] https://www.myhealthrecord.gov.au/about
[4] https://www.anao.gov.au/sites/default/files/Auditor-General_Report_2019-2020_13.PDF
[6] https://www.digitalhealth.gov.au/sites/default/files/documents/mhr-statistics-september-2022.pdf
[7] https://www.england.nhs.uk/2013/05/tech-fund-2/
[8] https://digital.nhs.uk/services/spine
[10] https://simplifier.net/guide/NHSDigital-2.1.50/Howtousethisimplementationguide?version=current
[11] https://developer.nhs.uk/apis/gpconnect-1-6-0/development_fhir_open_source_guidance.html
[12] https://digital.nhs.uk/services/gp-connect/gp-connect-in-your-organisation
[13] https://www.youtube.com/watch?v=JH7FGKnmnw8
[14] https://www.patientrecord.ch/
[16] https://www.fedlex.admin.ch/eli/fga/2013/989/de
[17] https://www.patientrecord.ch/what-legal-basis-epr
[18] https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0168851017303172