Health Information Exchange ในต่างประเทศ

ผมเขียนบทความนี้เพื่ออ้างถึงประสบการณ์ทำงานร่วมกับ Health Link ที่ได้พัฒนาและดูแลโดย Big Data Institute ในช่วงเวลาที่ผมได้ทำงานอยู่ในตำแหน่ง Business Analyst โดยอยากแนะนำและยกตัวอย่างการและเปลี่ยข้อมูลสุขภาพที่ประเทศไทยได้สร้าง และต่างประเทศที่มีการใช้งาน
First Draft: 23 November 2022
First Online Public : 13 June 2024

Health Link

ระบบเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ หรือ Health Information Exchange (HIE) เป็นแนวคิดที่มีมานานและได้มีการนำไปใช้จริงในหลายประเทศทั่วโลก ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างโรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆ ที่ใช้ระบบสารสนเทศ (Hospital Information System หรือ HIS) ซึ่งทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเทศไทย ระบบ Health Link ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพนี้ โดยเฉพาะการให้แพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการได้

การทำระบบ HIE ในระดับประเทศมีความซับซ้อนมากกว่าการทำ HIE เฉพาะกลุ่ม เนื่องจากโรงพยาบาลแต่ละแห่งใช้ระบบ HIS ที่แตกต่างกันและมีมาตรฐานข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การพัฒนาระบบ HIE ในระดับประเทศจำเป็นต้องมีการตกลงมาตรฐานที่ทุกฝ่ายยอมรับและการแปลงข้อมูลให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้สามารถส่งและรับข้อมูลได้อย่างราบรื่น ระบบ Health Link จึงได้ถูกพัฒนาโดยใช้มาตรฐาน Fast Healthcare Interoperability Resources (FHIR) จากองค์กร Health Level Seven (HL7) International ซึ่งเป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพที่ได้รับการยอมรับและใช้งานทั่วโลก โดยมาตรฐานนี้ทำให้การพัฒนาและการใช้งานระบบมีความง่ายและเข้ากันได้กับหลากหลายอุปกรณ์และแอปพลิเคชัน

โดยกลุ่มผู้ใช้งานแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

1 ผู้ป่วย หรือประชาชนทั่วไปผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลสุขภาพของตนเอง

2 แพทย์ ผู้ให้การรักษา หรือผู้ที่ต้องใช้ข้อมูลประกอบการรักษา

3 สถานพยาบาล ผู้ที่คอยกำหนดบทบาทของแพทย์ให้เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้

4 แพทยสภา ผู้ที่ตรวจสอบสถานะของแพทย์ ยืนยันตัวตนเพื่อตรวจสอบแพทย์มีสิทธิ์การเข้าสู่ระบบหรือไม่

สำหรับบทความนี้ต้องการสำเสนอตัวอย่างในต่างประเทศของระบบ Health Information Exchange ตัวอย่างในต่างประเทศ ศึกษาการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในต่างประเทศ ได้แก่ ระบบ My Health Record ของออสเตรเลีย, ระบบ NHS Spine ของสหราชอาณาจักร และระบบ Electronic Patient Record ของสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับแผนการพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในประเทศไทย

1. ระบบ My Health record (MHR) จากประเทศออสเตรเลีย

            รัฐบาลกลางออสเตรเลียได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสุขภาพในช่วงปี 2012 ถึง 2016 ประมาณ 1.15 พันล้านดอลล่า[1] ออสเตรเลีย และในปี 2017 ถึง 2018 ได้รับงบประมาณอีก 374 ล้านดอลล่า เพื่อทำการตลาด ปัจจุบันมีข้อมูลประชาชนชาวออสเตรเลียอยู่ร้อยละ 97 ประเทศ Australia ได้ก่อตั้งหน่วยงาน The Australian Digital Health Agency ในปี 2016 รู้จักกันในนาม Digital Health[2] เป็นผู้ดูแลระบบ My Health Record[3] ที่ทำเรื่องใบสั่งยา ระบบส่งต่อผู้ป่วย และโครงการ eHealth อื่น ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัลแห่งชาติ(ประเทศออสเตรเลีย) หน่วยงานนี้เคยถูกเรียกว่าหน่วยงานเปลี่ยนผ่านสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

แผนการสร้าง Health Information Exchange หรือ My Health Record ของประเทศออสเตรเลีย

            My Health Record (MHR) คือฐานข้อมูลสาธารณะสุขแห่งชาติ(ประเทศออสเตรเลีย) ถูกสร้างมาเพื่อเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระบบสาธารณะสุขแก่ทุกภาคส่วนของประเทศ แบ่งได้เป็นหลักๆ 2 ประเภท คือประชาชนทั่วไป และผู้ให้บริการสาธารณะสุขเช่นสถานพยาบาล ร้านขายยา และอื่น ๆ โดยบริการสามารถเข้าใช้งานผ่าน national ID ที่ชื่อว่า MyGov ซึ่งเป็น Digital ID ของภาครัฐ ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นส่วนตัวได้มากยิ่งขึ้น

            ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท

  1. เอกสารทางคลินิก เป็นข้อมูลที่สร้างจาก แพทย์ พยาธิแพทย์ และเภสัชกร บันทึกหรืออัปโหลดข้อมูลการรักษา การจ่ายยา การวินิจฉัย การส่งตัว ภูมิคุ้มกัน ผลการรักษา บันทึกข้อมูลการรักษา รายงานการรักษาเข้าไปในระบบ เพื่อแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน
  2. เอกสารข้อมูลทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับบริการภาครัฐ การเรียกร้องสิทธิการรักษา การลงทะเบียนสร้างภูมิคุ้มกันแห่งออสเตรเลีย ข้อมูลผู้บริจาคอวัยวะ
  3. ข้อมูลส่วนตัว เพื่อประกอบการรักษาในกรณีฉุกเฉิน ที่อยู่และการติดต่อ ยาแผนปัจจุบัน ข้อมูลการแพ้(รวมถึงปฏิกิริยาต่อการรักษาก่อนหน้า) บันทึกสุขภาพ สถานะทางทหาร ภาษาที่ต้องการรับการรักษา ข้อมูลการรักษาของบุตรหลานในการปกครอง
  4. ข้อมูลเกี่ยวกับ Covid-19 ตรวจสอบการรับวัคซีน ใบรับรองวัคซีน ผลและประวัติการตรวจหาเชื้อ

โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติการรักษา และข้อมูลสุขภาพของตนเองได้ผ่านแอปพลิเคชัน 2 ตัวได้แก่ Healthdirect และ Healthnow แล้วลงชื่อเข้าใช้งานด้วย MyGov จะสามรถเข้าไปแก้ไขสิทธิ์ และข้อมูลสุขภาพ

Australian Digital Health Agency ได้ออกเอกสาร Implementation of the My Health Record System [4] เป็นเอกสารที่อธิบายการทำงานของ MHR และการตรวจสอบการทำงานในช่วงปี 2019-2020

Implementation of the My Health Record System, Health Information Exchange Security

            การเข้าถึงข้อมูลของระบบ MHR จะสามารถเข้าถึงโดยบุคคลดังต่อไปนี้

  1. ผู้รับการรักษา
  2. ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ
  3. ตัวแทนที่ได้รับการเสนอชื่อ ซึ่งถูกเลือกมาจากผู้ได้รับการรักษา
  4. ตัวแทนที่ได้รับอนุญาต สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้

บอกจากบริการภาคประชาชนแล้ว MHR ยังให้บริการถึงผู้ให้บริการทางสาธารสุขต่างอีกด้วย เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลไปใช้ในบริการประชาชนให้ดียิ่งขึ้นดังนี้

  1. การจ่ายยาออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนชาวออสเตรเลียสามารถเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น และลดการเข้าไปขอคำแนะนำยัง สถานพยาบาล ก็สามารถได้รับใบจ่ายยาสามารถนำไปใช้กับร้านขายยาได้สะดวกสบาย และตัวผู้รับการรักษาไม่จำเป็นต้องจดจำหรือเรียนรู้เรื่องยาเป็นพิเศษ เพียงนำใบจ่ายยาไปใช้งานที่ร้านขายยา
  2. การรักษาทางไกล (Telehealth) การให้คำปรึกษาทางไกลผ่านการพูดคุยโทรคมนาคมทดแทนการพบปะต่อหน้าแพทย์ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วง Covid-19 โดยมีรายละเอียดย่อยดังนี้
    1.  การติดตามผลการรักษาทางไกล โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาให้ข้อมูลการรักษายังสถานพยาบาล
    1.  การบันทึกส่งต่อข้อมูล ระหว่างหน่วยงการรักษา
    1.  การให้คำปรึกษา เชื่อมต่อกับผู้ป่วย และผู้ให้บริการทางแพทย์ผ่านทางเสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
  3. เชื่อมโยงผู้ให้บริการในออสเตรเลีย สร้างระบบนิเวศน์เรื่องสุขภาพรวมกันไว้ที่เดียว ให้ทุกบริการและผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงและเปลี่ยนกันได้รวดเร็วและเป็นมาตราฐานเดียวกัน เพื่อส่งเสริมการนำไปใช้ และพัฒนาเศรษฐกิจด้านสาธารณะสุข

เพื่อให้การบันทึกส่งต่อ และใช้งานข้อมูลด้านสุขภาพเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ทาง The Australian Digital Health Agency ได้ลงนาม MoU[5] ร่วมกันกับ HL7 เพื่อดูแลสนับสนุนการพัฒนามาตรฐาน และข้อกำหนดด้านสุขภาพดิจิทัล เพื่อช่วยปรับปรุงการเชื่อมต่อทั่วทั้งระบบการรักษาพยาบาลแห่งชาติ CEO Amanda Cattermole กล่าวว่า “มาตรฐานด้านสุขภาพดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลด้านสุขภาพของผู้บริโภคอย่างปลอดภัย ปลอดภัย และไร้รอยต่อระหว่างผู้ให้บริการด้านสุขภาพต่างๆ”

ตัวเลขที่สำคัญ รายงานเดือนกันยายน 2565 [6] บันทึกข้อมูลไว้ว่า

  1. จัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน 23.4 ล้านคน คิดเป็น 97% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
  2. จัดเก็บเอกสารมากกว่า 757 ล้านฉบับ
    1. เอกสารทางคลินิกที่มาจากสถานพยาบาล 310 ล้านฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 73%
    1. เอกสารจากผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข เช่น ร้านขายยา 446 ล้านฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 54%
    1. ประชาชนส่งผล 4.5 แสนฉบับ
  3. มีคนลงทะเบียนใช้งานแล้ว 233,000 คน
  4. ประชาชนเข้าใช้งานเดือนละ 13,000 คน
  5. 99% ของเภสัชกรสมัคร, 99% ของเภสัชกรใช้งานแ
  6. 99% ของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปสมัคร, 99% ของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปใช้งาน
  7. 97% ของโรงพยาบาลรัฐเข้าร่วม, 95% ของโรงพยาบาลรัฐใช้งาน
  8. 27% ของแพทย์เฉพาะทางสมัคร, 12% ของแพทย์เฉพาะทางใช้งาน
ภาพรวม MHR ระบบ Health Information Exchange ของประเทศออสเตรเลีย
ภาพรวม MHR ระบบ Health Information Exchange ของประเทศออสเตรเลีย

2. ระบบ NSH Spine จากสหราชอาณาจักร

            National Health Service (NHS) ได้ก่อนตั้ง NHS Digital  ขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่อง สารสนเทศ ข้อมูล ระบบเทคโนโลยี การวิเคราะห์ ในระบบสาธารณสุขและสังคมส่งเคราะห์ของประเทศอังกฤษ ในปี 2013 NHS England ไฟเขียนอนุมัติงบประมาณ 260 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง[7] ให้แพทย์ และพยาบาลมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ดีมากยิ่งขึ้น กองทุนนี้จะมีให้สำหรับผู้ให้บริการ NHS เพื่อสนับสนุนการย้ายจากระบบกระดาษสำหรับบันทึกผู้ป่วยและใบสั่งยาไปสู่บันทึกการดูแลทางอิเล็กทรอนิกส์แบบบูรณาการ และการพัฒนาระบบ e-prescribing และ e-referral  เพื่อแบ่งปันข้อมูลกันอย่างปลอดภัยระหว่างส่วนต่างๆ ของ NHS จึงมีการพัฒนาระบบที่ชื่อว่า Spine[8] ขึ้นมาเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของ NHS ทั้งหมดที่เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั่วถึงกันทั้งหมด ปรับใช้กับบริการต่างๆเช่น ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ บันทึกการรักษาฉบับย่อ บริการส่งต่อผู้ป่วย และเปิดช่องทางการสื่อสาร API ให้กับผู้ให้บริการสาธารณะสุขภายนอกเข้ามาใช้งานร่วมกันได้

            Spine เป็น Platform กลางที่พัฒนาขึ้นมาเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้บริการด้านสาธารณะสุข ส่งต่อข้อมูลถึงกัน และส่งข้อมูลถึงผู้รับการรักษา โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ผ่าน NHS App หรือช่องทางบริการภาครัฐได้ทั้งสิ้น แต่ผู้ใช้งานในส่วนของผู้ให้บริการจำเป็นจะต้องสร้างระบบนิเวศน์คอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ การรับ-ส่งข้อมูลกับ Spine ที่เรียกว่า NHS Digital WES[9] พร้อมทั้งยังออกมาตรฐานข้อมูลที่ชื่อว่า NHS Digital FHIR Implementation Guide [10] กำหนดถึงมาตราฐานการเรียกดู บันทึก เข้าถึงข้อมูล FHIR ซึ่งเป็นมาตรฐาน HL7 FHIR [11]

            NHS ยังมีบริการส่งเสริมให้องค์กรต่าง ๆ สามารถติดตั้งและเชื่อมต่อข้อมูลกับ NHS ให้ได้ในโครงการ GP Connect[12] เพื่อให้องค์กรด้านสาธารณะสุขทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ได้ทั้งการอ่านอย่างเดียวผ่าน HTML หรือเว็บไซต์โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการทางคลินิก และการนำเข้าหรือประมวลผลข้อมูลของผู้ป่วยได้ซึ่งระบบมีการดูแลรักษาความปลอดภัยให้เรียบร้อย โดยมีเงื่อนไขว่าต้องใช้ในการดำเนินการดูแลรักษาผู้ป่วยโดยตรง และอยู่ในการกำกับดูแลตามมาตราฐานความปลอดภัยทางคลินิก

            มีองค์กรมากมายที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลเพื่อเรียกดู นัดหมายให้ผู้ป่วย หรือส่งสรุปการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ระบบที่ใช้ในการเรียกดูหรืออ่านข้อมูลเรียกว่า Consumer และระบบที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเรียกว่า Sender ซึ่งถูกพัฒนาให้สามารถนำไปติดตั้งหรือใช้งานได้ทันที่เพียงดำเนินการตามคำแนะนำของระบบ หรือติดต่อกับ NHS เพื่อให้คำแนะนำ ตัวอย่างองค์กรที่มีการเชื่อมต่อ บ้านพักรับรอง สถานสงเคราะห์ บ้านพักคนชรา รถพยาบาล ศูนย์รับผู้ป่วยฉุกเฉิน ร้านขายยา ทันตกรรม นักทัศนมาตรร้านสายตา สุขภาพจิตไว้วางใจ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ

ในปัจจุบันเปิดให้แบ่งปันข้อมูล เพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้

  1. ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้กระบวนการสั่งจ่ายยาและการจ่ายยามีประสิทธิภาพและสะดวกยิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ และลดเวลาที่ใช้ในการมายังสถานพยาบาลเพื่อรับใบสั่งยา
  2. บันทึกสรุปการรักษา (SCR) ที่สร้างโดยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป สามารถใช้งานได้โดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอนุญาตในพื้นที่อื่นๆของระบบสาธารณสุข และการดูแลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยโดยตรง
  3. การเลือกพบแพทย์ นัดหมาย กับผู้เชี่ยวชาญ หรือการผ่าตัด ในกรณีที่ต้องส่งต่อผู้ป่วย
  4. การคุ้มครองเด็ก บริการแบ่งปันข้อมูลช่วยให้เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์สามารถแบ่งปันข้อมูลได้อย่างปลอดภัย เพื่อปกป้องเด็กที่เปราะบางในสังคมได้ดียิ่งขึ้น

ตัวเลขที่สำคัญ รายงาน 5 สิงหาคม 2562 [13] บันทึกข้อมูลไว้ว่า

  1. NSH Spine มีการส่งข้อมูล 3,500 ข้อความต่อวินาที และมีข้อความต่อวันสูงถึง 47 ล้านข้อความ
  2. มีระบบเชื่อมต่อ 28,000 ระบบจาก 21,000 องค์กร
  3. ข้อมูลสรุปการรักษา ด้านสุขภาพ 65 ล้านรายการดูแลอย่างปลอดภัย
  4. บันทึกข้อมูลประชากรมากกว่า 90 ล้านรายการ และส่งต่อระหว่างกัน 750,000 ข้อความอย่างปลอดภัย
  5. จ่ายใบสั่งยา 2 ล้านรายการต่อวัน
  6. มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาใช้งาน NSH Spine 500,000 คนต่อวัน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหมายถึงแพทย์สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเกี่ยวกับการรักษาที่เหมาะสม
  7. แพทย์สามาถส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และเภสัชกรสามารถสั่งจ่ายยาได้อย่างถูกต้องสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้
  8. แพทย์สามารถเข้าช่วยเหลือผู้ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือมากที่สุดก่อนได้
NHS Spine กระดูกสันหลังของการบูรณาการณ์ข้อมูล Health Information Exchange ของสหราชอาณาจักร
NHS Spine กระดูกสันหลังของการบูรณาการณ์ข้อมูล Health Information Exchange ของสหราชอาณาจักร

3. ระบบ Electronic Patient Record (EPR) จากประเทศสวิซเซอร์แลนด์

       ข้อมูลสุขภาพของคุณพร้อมใช้ทางออนไลน์แล้ว คำประกาศของระบบ Electronic Patient Record (EPR)[14] ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปจัดการและแบ่งปันข้อมูลนี้ให้กับผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลคุณใช้งานได้ ด้วยความสามารถในการเข้าถึงเอกสาร จัดการสิทธิ์ และการเข้าถึงข้อมูลยามฉุกเฉิน ส่งผลให้ระบบ EPR กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการแบ่งปันข้อมูลด้านสุขภาพของประเทศสวิซเซอร์แลนด์ เนื่องจากก่อนหน้านี้ประเทศสวิซเซอร์แลนด์นั้นมีความแตกต่างของผู้คนมากเนื่องจากมีประชาชนอยู่ถึง 4 วัฒนธรรม เยอรมัน, ฝรั่งเศส, อิตาลี่ และ รูมันซ์ มีความแตกต่างทั้งภาษา วัฒนธรรมธรรม มี 26 มณฑล, 26 กฎหมาย และ 26 รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุข[15] ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างกัน จนรัฐบาลกลางสมาพันธรัฐต้องเข้ามากำกับดูแลในการวางกลยุทธ์สร้างระบบ eHealth ขึ้นมา

Health Information Enchange ของสหพันธรัฐสวิส
ระบบ EPR ที่ทำหน้าที่เป็น Health Information Exchange

       ทางรัฐบาลกลาง สมาพันธรัฐสวิสได้ออกกฎหมายขึ้นมาหนึ่งฉบับว่าด้วยเรื่องการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ Federal Act on the Electronic Patient Record / Botschaft zum Bundesgesetz über das elektronische Patientendossier (EPRA)[16] ผ่านรัฐสภาในปี 2556 ประกาศบังคับใช้กลางปี 2560 โดยมีจุดประสงค์หลัก[17] ดังนี้ พัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล, เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบำบัด, ปรับปรุงความปลอดภัยของผู้ป่วย, เพิ่มประสิทธิภาพระบบสุขภาพ และส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วย ให้มีการดำเนินการและสนับสนุนดังต่อไปนี้ สิทธิการเข้าถึงสำหรับบุคลากรทางการแพทย์, การเข้าถึงเอกสารทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉิน, วิธีระบุผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ใน EPR, โครงสร้างของ ‘ชุมชนหลัก’ และ ‘ชุมชน’  และความช่วยเหลือทางการเงินจากสมาพันธ์ จัดสรรงบประมาณให้ 30 ล้านฟรังสวิซ[18] เพื่อสร้างระบบที่สามารถควบคุมการเข้าถึง เป็นศูนย์กลางที่ได้รับการยอมรับ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างชาติขึ้นมา

ชุดข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ Health Inforamtion Exchange

            ระบบ EPR ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้แพทย์มีข้อมูลสำคัญสำหรับการรักษาพยาบาลในการฉุกเฉิน สามารถรักษาได้ตรงจุด และลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการขาดข้อมูลการรักษา ให้กับสถานพยาบาลทั่วประเทศ สามารถมาแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยได้ผ่านตัวกลางที่เป็นที่ยอมรับจากทุกคนด้วยมากตราฐานการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ HL7 FHIR[19]

            ทั้งนี้ EPR ยังต้องปฏิบัติรักษาความปลอดภัยอย่างดีที่สุด เพื่อป้องกันการล้มของระบบ และการหลุดของข้อมูล ดังนั้นระบบ EPR ต้องปฏิบัติตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทุกขั้นตอน[20]  รักษาความเป็นส่วนตัว, การส่งข้อมูลที่ปลอดภัย, เก็บรักษาข้อมูลในอยู่ในประเทศสวิซเซอร์แลนด์, ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างระเอียดทุกขั้นตอน, ระบบพัฒนาโดยมีใบรับรอง, การระบุตัวตนที่ปลอดภัย, ยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ และยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขประจำตัวผู้ป่วยได้

            ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานได้ผ่านการสมัครบริการและรับรหัสเข้าใช้งานรายครั้งผ่าน SMS หรือสร้างหมายเลขประจำตัวผู้ป่วยใหม่จากสำนักงานสวัสดีการสมาพันธรัฐ Zentralen Ausgleichsstelle des Bundes (ZAS)

บริการต่างๆ ในระบบ EPR ของสวิซเซอร์แลนด์
บริการต่างๆ ในระบบ EPR ของสวิซเซอร์แลนด์

บริการต่าง ๆ ที่มีในระบบ EPR [21]

อ้า

[1] https://www.anao.gov.au/work/performance-audit/implementation-the-my-health-record-system

[2] https://www.digitalhealth.gov.au/about-us

[3] https://www.myhealthrecord.gov.au/about

[4] https://www.anao.gov.au/sites/default/files/Auditor-General_Report_2019-2020_13.PDF

[5] https://www.digitalhealth.gov.au/newsroom/media-releases/australian-digital-health-agency-signs-agreement-with-hl7-australia-to-help-connect-australias-healthcare-system

[6] https://www.digitalhealth.gov.au/sites/default/files/documents/mhr-statistics-september-2022.pdf

[7] https://www.england.nhs.uk/2013/05/tech-fund-2/

[8] https://digital.nhs.uk/services/spine

[9] https://digital.nhs.uk/services/spine/spine-technical-information-warranted-environment-specification-wes

[10] https://simplifier.net/guide/NHSDigital-2.1.50/Howtousethisimplementationguide?version=current

[11] https://developer.nhs.uk/apis/gpconnect-1-6-0/development_fhir_open_source_guidance.html

[12] https://digital.nhs.uk/services/gp-connect/gp-connect-in-your-organisation

[13] https://www.youtube.com/watch?v=JH7FGKnmnw8

[14] https://www.patientrecord.ch/

[15] https://www.moh.gov.gr/articles/ehealth/7651-paroysiaseis-sta-plaisia-twn-virtual-country-visits-toy-ergoy-national-ehealth-interoperability-framework-nehif?fdl=17839

[16] https://www.fedlex.admin.ch/eli/fga/2013/989/de

[17] https://www.patientrecord.ch/what-legal-basis-epr

[18] https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0168851017303172

[19] http://fhir.ch/ig/ch-epr-term/index.html

[20] https://www.e-health-suisse.ch/fileadmin/user_upload/Dokumente/D/factsheet-EPD-Datensicherheit.docx.pdf

[21] https://www.e-health-suisse.ch/fileadmin/user_upload/Dokumente/E/Graphic_Swiss_Electronic_Patient_Record_v4.0-2021-04-15.pdf

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *