การบริหารทีม แบบปังปุริเย่ ให้ประสบความสำเร็จ

การบริหารทีม แบบปังปุริเย่ ให้ประสบความสำเร็จ

การบริหารทีม แบบปังปุริเย่ ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่ใช่สูตรพิเศษใครๆก็ทำได้ และสามารถทำให้ดีกว่าได้ เริ่มจากการเข้าใจการทำทีมก่อน ในบทความนี้จะเล่าถึงวิธีการทำทีมโดยเริ่มจาก SuperAI2-851 ปิยะพันธ์ วงมา(ไบรอั้น) อาสาเข้ามาเป็นหัวหน้าบ้าน

บทความนี้เป็นบทความที่สามารถอ่านต่อได้จากบทความ
ตำราวิธีพิชิตค่าย Super AI ฉบับสมบูรณ์
การแข่งขันในค่าย Super AI เป็นอย่างไร


เมื่อพูดถึงคนจำนวนมากมารวมตัวกัน 22 คนแต่ละคนมีประวัติการศึกษา ประสบการณ์การทำงานที่ไม่ธรรมดามาอยู่รวมกัน สำหรับบ้านปังปุริเย่แล้วมีตั้งแต่ปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก คนที่ประสบความสำเร็จด้านการแข่งขันวิชาการมาอยู่ด้วยกัน เรามีวิธีการจัดการอย่างไร ซึ่งบทความนี้จะเล่าผ่านมุมมองและประการณ์ส่วนตัวของ SuperAI2-851 ไบรอั้น ผู้ที่อาสาเข้ามาเป็นหัวหน้าบ้านในวันแรกที่เจอกัน

ไบรอั้น(ซ้าย) หัวหน้าบ้านปังปุริเย่ การบริหารทีม แบบปังปุริเย่ ให้ประสบความสำเร็จ
ไบรอั้น(ซ้าย) หัวหน้าบ้านปังปุริเย่

อาสาสมัคร การบริหารทีม แบบปังปุริเย่

หนึ่งในความสำเร็จ และความสำเร็จสูงสุดของบ้านปังปุริเย่เลยก็คือ ระบบการอาสาสมัคร ในวันแรกที่ทุกคนเจอกันทางโครง Super AI Engineer ต้องการหาหัวหน้าบ้าน และทีมผู้ประสานงาน เพื่อการสื่อสารกันระหว่างผู้เข้าแข่งขันกับทางโครงการให้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ในสถานการณ์นั้นยากที่จะเลือกใครมาเป็นผู้นำและผู้ประสานงานได้ สิ่งแรกที่ไบรอั้นทำคือ อาสามาเป็นหัวหน้าบ้าน ก้าวแรกของคนริเริ่ม จะเกิดก้าวต่อมาทันที และไม่นานเราก็ได้ผู้ประสานงานอีก 2 ท่านคือ ฟิวส์ และทูล ที่จะมาช่วยกันติดต่อประสานงานกับทางโครงการ จึงกลายมาเป็นกฎข้อแรกงานทุกงานต้องอาสาทำ

ระบบอาสาสมัครของบ้านปังปุริเย่ กลายมาเป็นระบบที่เข้มแข็ง และทรงพลังของบ้านปังปุริเย่มากๆ เพราะในทุกๆสัปดาห์ ทุกๆงานเราจะมีคนอาสามาทำงานกันตลอดไม่ขาดตกบกพร่อง กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่หล่อหลอมขึ้นมา โดยปราศจากการบังคับ จับวางตำแหน่งว่าใครควรทำอะไร เพราะทุกคนสามารถเลือกงานที่ต้องเองสนใจอยากทำได้ ทำให้ไม่มีใครที่เสียจ และรู้สึกไม่ดีกับการทำงานที่ตัวเองเลือก


การบริหารทีม แบบปังปุริเย่ คือการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

เพื่อให้คนที่อาสามาทำงานนั้นสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ไบรอั้นจึงตั้งกฎข้อที่ 2 ทุกคนต้องให้เกียรติคนที่กล้าอาสามาทำงาน เพื่อที่เขาจะได้เต็มใจอาสามาดูแลงานนั้นได้อย่างสะดวกใจโดยไม่ต้องกังวล ซึ่งไบรอั้นได้เสนอตัวว่า การเป็นหัวหน้าทีมจะเปลี่ยนกันทุกๆ 1 สัปดาห์เพื่อเปิดโอกาสให้ท่านอื่นได้อาสามาเป็นหัวหน้าทีม และพัฒนาเรียนรู้การดูแลทีมกันได้ ดังนั้นต่อไปถ้าใครอาสามาเป็นหัวหน้า ทุกคนต้องให้เกียรติคนที่เข้ามานั้นคือ การบริหารทีม แบบปังปุริเย่ ซึ่งทำให้ทีมสามารถดูแลกันได้ยาวต่อเนื่อง 11 สัปดาห์ และเปี่ยมไปด้วยความยินดีให้แก่กัน


ทุกตำแหน่งต้องหมุนเวียนได้

กฎข้อที่ 3 คือทุกตำแหน่ง ทุกคนในบ้านต้องหมุนเวียนมาทำงานทดแทนกันได้ เพื่อให้ทุกคนในบ้านมีความสามารถเทียบเท่ากัน และแข่งขันกับคนอื่นได้ ต้องพัฒนาทุกคนในบ้าน ทุกคนต้องเขียนโปรแกรมเป็น ทุกคนต้องเป็นหัวหน้าทีมได้ ทุกคนต้องนำเสนอผลงานได้ เพราะเส้นทางยาวไกล 11 สัปดาห์ เราต้องมีคนมาทดแทนกันได้ทุกตำแหน่ง เกมการแข่งขันฤดูกาลนี้ยาวนาน ทีมแข่งขันเราต้องดีให้พอกับกาลเวลา นั้นคือทุกตำแหน่งต้องหมุนเวียนกันได้

สถานการณ์สร้าง วีรบุรุษ เมื่อเรามีระบบที่ให้เกียรติ์กัน และหมุนเวียนกันได้ ย่อมเกิดวีรบุรุษคนใหม่ได้เสมอ การบริหารทีม แบบปังปุริเย่ ให้ประสบความสำเร็จ
สถานการณ์สร้าง วีรบุรุษ

แจ้งตารางงานประจำสัปดาห์

ทุกคนในบ้านมีหน้าที่แจ้งตารางกิจกรรมส่วนตัวของตัวเองล่วงหน้า 1 สัปดาห์แก่เพื่อนๆ เพื่อบอกว่าเราสะดวกทำงานวันไหน ไม่สะดวกเมื่อไหร่ และเราติดธุระอะไร เหตุผลของการแจ้งตารางงานจะช่วยให้เราสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเราจะรู้ว่าใครสะดวก และใครไม่สะดวก วันไหนใครติดเรียน วันไหนใครติดสอบ เราจะได้ไม่มีเรื่องขัดใจกัน เมื่อเพื่อนไม่สามารถมาทำงานได้ และสุดท้ายเราสามารถวางแผนล่วงหน้าได้ เราทำผ่าน Google Sheet กันอย่างง่าย เน้นง่ายไว ใช้งานได้จริง

ตารางกิจกรรมส่วนตัวประจำสัปดาห์ของบ้านปังปุริเย่ การบริหารทีม แบบปังปุริเย่ ให้ประสบความสำเร็จ
ตารางกิจกรรมส่วนตัวประจำสัปดาห์

จับฉลาก การบริหารทีม แบบปังปุริเย่

เป็นเรื่องง่ายๆที่เราทำกันประจำ สำหรับการจัดทีมแบ่งทีมการแข่งขัน เพราะบางสัปดาห์โจทย์ต้องการให้เราแบ่ง 7 ทีม หรือ แบ่ง 4 ทีม หรือแบ่ง 3 ทีม วิธีการของเราด้วยปรัชญา ทุกคนต้องทดแทนกันได้ หมุนเวียนกันทำงานได้ เราจึงใช้นโยบายจับฉลากทีมเสมอ ไม่ให้มีทีมที่เก่งเกินไป และทีมที่อ่อนเกินไป ทุกทีมเกิดจากการจับฉลาก

โดยเรามีเงื่อนไขอย่างง่าย แบ่งคนออกเป็น 2 ประเภท

  1. คนที่สะดวกในสัปดาห์นั้น
  2. คนที่ไม่สะดวกในสัปดาห์นั้น (จ-ศ) ติดธุระมากกว่า 3 วันจาก 5 วัน

วึ่งแต่ละทีม จะมีทั้งคนสะดวก และคนไม่สะดวกคละอยู่ด้วยกัน เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่สะดวกจับโดนไปอยู่ทีมเดียวกัน และจะเป็นอุปสรรค์ในการทำงาน

วิธีการจับฉลากเราก็ทำงานง่ายๆ ด้วยการหมุนล้อจับฉลาก จาก Wheelofnames

หมุนวงล้อจับฉลาก การบริหารทีม แบบปังปุริเย่ ให้ประสบความสำเร็จ
หมุนวงล้อจับฉลาก

เครื่องมือสื่อสาร (Slack)

สิ่งที่สำคัญมากๆ มากๆ มากๆ ในการทำงานเป็นทีมคือเครื่องมือสื่อสาร ทำอย่างไรให้เราสามารถส่งต่อข้อมูล ส่งต่อความรู้ ส่งต่อกระจายสารได้ถึงทุกคน และมีพื้นที่สำหรับการทำงานอย่างเป็นระบบ (ไบรอั้น ชื่นชอบ Microsoft Teams) จึงได้ค้นหาเครื่องมือที่มีคุณภาพ และมีคุณลักษณ์ดังนี้

  1. ใช้งานได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
  2. ไม่จำกัดการใช้งาน
  3. สามารถใช้งานได้ทั้งคอม มือถือ และแท็บเล็ต
  4. สามารถจัดเก็บข้อความได้ ตลอดกาล
  5. สามารถส่งต่อไฟล์ รูปภาพ หรือข้อมูลอื่นได้ไม่จำกัดประเภท
  6. สามารถสร้างห้องที่สามารถพูดคุยกันในกลุ่ม หรือในทีมย่อยได้ง่าย
  7. เป็นส่วนตัว สงวนเป็นความลับองค์กรได้

แม้ว่าเราจะมีการใช้งาน Line บ้างเพราะไวและสะดวก แต่ยังไม่สะดวกในการจัดเก็บข้อมูลเป็นหมวดหมู่ และเก็บระยะยาว เราจึงต้องมีช่องทางหลักในการสื่อสารกันอย่างเป็นทางการ และใช้ข้อมูลนั้นพูดคุยกันตลอด จึงออกมาเป็น Slack

Slack: Pangpuriye House การบริหารทีม แบบปังปุริเย่ ให้ประสบความสำเร็จ
Slack: Pangpuriye House

ห้องทำงาน

เมื่อเราจัดทีมกันได้แล้ว สิ่งที่เราทำต่อมาคือการจัดที่นั่งทำงาน เพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์กันระหว่างทีม ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เรามีการจัดที่นั่งที่สามารถให้แต่ละทีมทำสามารถนั่งใกล้กัน พูดคุยกันได้สะดวก โดยปรับเปลี่ยนให้เป็นสไตล์ตัวเอง เน้นการสื่อสารที่ไว และใกล้ชิดกันเป็นหลัก มีหลักการดังนี้

  1. นั่งเป็นทีม
  2. พูดคุยสะดวก
  3. แยกส่วนทำงาน กับเล่น
  4. มีแสงสว่างทั่วถึง
การจัดที่นั่งของบ้านปังปุริเย่ การบริหารทีม แบบปังปุริเย่
การจัดที่นั่งของบ้านปังปุริเย่
การจัดที่นั่งของบ้านปังปุริเย่ การบริหารทีม แบบปังปุริเย่
การจัดที่นั่งของบ้านปังปุริเย่

โดยเราเหลือพื้นที่ส่วนของหลังห้องไว้สำหรับ พักผ่อนและบันเทิง

การจัดที่นั่งของบ้านปังปุริเย่
การจัดที่นั่งของบ้านปังปุริเย่ การบริหารทีม แบบปังปุริเย่
การจัดที่นั่งของบ้านปังปุริเย่

ห้องทำงานโลกเสมือน (Metaverse Workplace)

การแข่งขันจัดแบบ Onsite 3 Weeks แล้วก็ Online 3 Weeks วนสลับไปมา ดังนั้นเราจึงต้องวางแผนการทำงานในโลกออนไลน์ ที่ทำคนจะมีปฏิสัมพันธ์ ร่วมกันได้ เปิดกล้อง เปิดไมค์ แชร์หน้าจอ ได้เสมือนว่ายังคงทำงานอยู่ร่วมกันได้เหมือนอยู่ใกล้กัน ด้วยเงื่อนไขดังต่อไปนี้ทำให้เราได้ใช้ gathertown

  1. ตรวจสอบสถานะการออนไลน์ของเพื่อนได้
  2. พูดคุยได้
  3. เปิดกล้องได้
  4. แชร์หน้าจอได้
  5. พิมพ์ข้อความด่วนได้
  6. พูดคุยแบบส่วนตัวได้
  7. เล่นเกมร่วมกันได้
Gather Town บ้านปังปุริเย่ การบริหารทีม แบบปังปุริเย่
Gather Town บ้านปังปุริเย่
Gather Town บ้านปังปุริเย่ การบริหารทีม แบบปังปุริเย่
May be a cartoon of ‎text that says '‎Non MP Phob BryanWong BlueSky Link Kanoon Juuuuu Boon new5558 Nack که Mc (B.gc) Mc Aun Nine D Ping Kiang Top BankKy‎'‎
Gather Town บ้านปังปุริเย่

Data Storage (Google Drive)

นี่เป็นเรื่องแรกๆที่เราตั้งเป็นมาตราฐานการทำงานร่วมกันคือสร้าง gmail บ้านขึ้นมาเพื่อให้งานร่วมกัน Google Drive แชร์กันแล้วซื้อพื้นที่สำหรับการใช้งาน เราเลือกซื้อ Package 990บาทต่อปี ได้พื้นที่ 200GB

ซึ่งนี้เป็นวิธีการที่สำคัญมากที่ทำให้เราสามารถทำงานได้ไว เนื่องจากสมาชิคทุกคนส่วนใหญ่(80%) ใช้ Google Colab สำหรับการเขียน Python ด้วยความที่เป็นบริการของ Google ด้วยกันเองแล้วทำให้การ Load ข้อมูลมาประมวลผลสามารถทำงานได้ง่าย และรวดเร็ว สมมติเราต้อง Download ข้อมูล 50 Gb มาลงเครื่องใช้เวลา 1 ชั่วโมง เราสามารถสั่ง Download ไปวาง Google Drive ไม่ถึง 2 นาที แล้วเราก็ประมวลผลได้ทันที ประหยัดเวลาการทำงานลงได้มหาศาล

Data Augmentation / Data Pre-processing ใช้งานร่วมกัน ทำให้เรามีข้อมูลที่ดีใช้งานด้วยกัน

Google Drive ด้วย Account บ้าน การบริหารทีม แบบปังปุริเย่
Google Drive ด้วย Account บ้าน

การประชุมทีม

สิ่งที่ทำให้บ้านเรามีความสามารถทัดเทียมกัน หัวใจสำคัญคือการประชุมทีม โดยเรานำกรอบแนวทาง Scrum Daily มาใช้ ทำให้เราได้พูดคุยกันทุกวันวิธีการมีดังต่อไปนี้

  1. ทุกคนต้องยืนล้อมวงกัน
  2. ใช้เวลาการประชุมไม่เกิน 15 นาทีต่อวัน
  3. ทุกคนต้องแนะนำตัวก่อนพูดทุกคน ว่าชื่ออะไร (ทำให้เรารู้จักกันได้ไวขึ้น และทำงานร่วมกันได้สนิทใจไวขึ้น)
  4. อัปเดทเนื้อหาทุกวันดังต่อไปนี้
    1. เมื่อวานทำอะไร เจอปัญหาอะไร แก้ปัญหาอะไร
    2. วันนี้ทำอะไรมาแล้วบ้าง เจอปัญหาอะไร แก้ปัญหาอะไร
    3. ต่อไป และพรุ่งนี้จะทำอะไร
  5. ทำความเข้าใจเดียวกัน One Team One Goal ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน
  6. เมื่อไม่เข้าใจ ต้องวาดกระดานให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกัน
ประชุมรายวัน ล้อมวงพูดคุย
ทุกงานคือการเขียนกระดาน
การบริหารทีม แบบปังปุริเย่
ล้อมวงพูดคุย

การบริหารทีม แบบปังปุริเย่ ต้องมีการแบ่งปันข้อมูล

สิ่งที่บ้านปังปุริเย่ทำเป็นบ้านแรกในโนโครงการ Super AI Engineer คือการทำ Knowledge Sharing กันในบ้าน โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทการแบ่งปันดังนี้

1. แชร์ปัญหาที่พบเจอ และการแก้ไขปัญหา เมื่อถึงเวลาประชุมในแต่ละวัน

เมื่อมีคนลองผิดลองถูกในเส้นทางใดแล้ว สามารถกลับมาบอกเพื่อนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้เพื่อนไปลองผิดเหมือนกัน ลดการทำงานซ้ำซ้อน และเสียเวลาการเรียนรู้ลง เราสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดของเพื่อนได้ เลย

2. เปิดคลาสสอนกันเอง แนะนำเครื่องมือที่มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้ใช้แน่ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการแข่งขัน Super AI Engineer

เราจะทราบว่าในสัปดาห์หน้าจะมีการแข่งขันโจทย์ประเภทอะไร เราจะมีเวลาพักและเตรียมตัวประมาณ 1 วัน สำหรับคนที่มีประสบการณ์ หรือคนที่ไปเตรียมข้อมูลมาก่อน ก็จะเปิดสอนเพื่อนๆ สำหรับเครื่องมือที่คาดว่าจะใช้งาน เพื่อให้เพื่อนๆในบ้ามีความรู้ทันกัน และสามารถช่วยเหลือกันได้ ในทุกๆโจทย์


ทั้งหมดที่เล่ามาเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเทคนิคของผู้นำ และการร่วมมือร่วมใจกันของคนในบ้าน ถ้าเริ่มต้นดี ตั้ง Mindset เป็นแบบเดียวกันได้ เราจะเดินหน้าในค่า Super AI Engineer ได้ยาวนาน ในฐานะที่ผม (ไบรอั้น) เป็นผู้นำคนแรก และได้เห็นสมาชิคทุกท่านหมุนเวียนกันมานำทีมในแต่ละสัปดาห์ โดยกรอบแนวทางที่เราออกแบบเพื่อสมาชิคทุกคนสามารถทำงานกันได้ ก็รู้สึกดีใจมากๆ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ สมาชิคบ้าน Pangpuriye นั้นจะสลับทีม สุ่ม จับฉลากหมุนยังไง ทุกทีมก็สามารถไปแข่งกับบ้านอื่นได้ทั้งหมด

ขอยกตัวอย่างคร่าวๆ ในเกือบทุกๆสัปดาห์ที่มีการแบ่งทีมย่อยกันทำงานบ้าน Pangpuriye จะเป็นหนึ่งบ้านที่เข้ารอบเตรียม Pitching ทุกทีม ในขนะที่บ้านอื่นอาจจะมีทีมเข้าไปไม่กี่ทีม แต่บ้านอื่นมักเป็นทีมที่เก่งระดับ Top เข้ามาแข่ง

หวังว่าเนื้อหาในบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านสามารถสร้างทีมที่ดีกว่า Pangpuriye Super AI Engineer Season2

ปิยะพันธ์ วงมา (ไบรอั้น)
ปิยะพันธ์ วงมา (ไบรอั้น)
ปิยะพันธ์ วงมา (ไบรอั้น)
ปิยะพันธ์ วงมา (ไบรอั้น)

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *